Lateral Thinking Hat บันไดสู่การเป็น "นักสร้างสรรค์"



ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ผู้คิดค้นระบบความคิดสร้างสรรค์ Lateral Thinking Hat และผู้บุกเบิกหลักสูตรพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทยได้เดินทางมาบรรยายให้กับพนักงานในบริษัทไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ′ประชาชาติธุรกิจ′ คัดบางส่วนที่เป็นประโยชน์มานำเสนอ

ดร.เอ็ดเวิร์ดกล่าวถึงธรรมชาติของสมองคนเราว่า มีหน้าที่สำคัญคือ การเก็บข้อมูล ทำให้คนเรามีแนวโน้มชอบทำอะไรซ้ำเดิม คิดอะไรซ้ำเดิม คิดอะไรที่แตกต่างจากเดิมไม่ค่อยได้ แต่คนที่ประสบความสำเร็จหรือคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ได้นั้นจะต้องมีเครื่องมือการคิดที่เรียกว่า Lateral Thinking ที่สามารถทำให้เรามีการคิดสร้างสรรค์ได้ในเวลารวดเร็ว

โดยเทคนิคการคิดแบบ Lateral Thinking นั้น ดร.เอ็ดเวิร์ดกล่าวถึง 4ขั้นตอน คือ หนึ่ง การทำงานที่แตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ พาตัวเองออกมาจากสิ่งที่เราเคยชินอยู่จนมองไม่เห็นว่าจะมีอะไรให้เปลี่ยนแปลง

ประการต่อมาคือ การตั้งโจทย์ให้แตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ เช่น ถ้าพูดถึง ไอศกรีม สิ่งที่เป็นคุณสมบัติหลักก็คือ ความเย็น ดังนั้นการตั้งโจทย์ก็คือต้องบอกว่า ไอศกรีมมันร้อน เป็นต้น เพื่อที่จะแตกแนวคิดที่แตกต่างไปจากเดิม

ประการที่สาม คือคิดแบบหนึ่งคอนเซ็ปต์ มีหลากหลายไอเดีย และครอบคลุมมากที่สุด และสุดท้ายคือ การสุ่มคำ เป็นวิธีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จากเรื่องใหม่ ๆ เช่น ถ้าต้องการดีไซน์ท่าออกกำลังกาย ใหม่ ๆ ก็สามารถใช้วิธีการสุ่มคำแล้วแตกความคิดจากคำคำนั้น สมมุติคำที่เราคิดได้คือ มะม่วง ก็ใช้มะม่วงเป็นคอนเซ็ปต์ในการคิด จากนั้นแตกไอเดียออกมาให้ได้ มากที่สุด ก็จะทำให้ได้ไอเดียใหม่ ๆ ออกมา

กล่าวโดยสรุป การตัดสินใจอย่างมีคุณภาพเป็นการใช้ปัญญามากกว่า อารมณ์ และต้องมั่นใจได้ว่าผลของการตัดสินใจนั้นออกมาทางบวกและสร้างสรรค์

และท้ายที่สุดเครื่องมือต่อมาที่จำเป็นต้องคิดค้นเพื่อลดความขัดแย้ง และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คือเทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า SIX Thinking Hats โดยวิธีการนี้ประกอบไปด้วยหมวกต่าง ๆ คือ หมวกสีขาว (White Hat) เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ หรือนั่นก็คือข้อมูลดิบที่ไม่มีการปรุงแต่งใส่ข้อคิดเห็น เป็นการคิดเฉพาะด้านข้อมูลเท่านั้น เช่น เรามีข้อมูลอะไรอยู่ในมือบ้าง, เรายังขาดข้อมูลอะไรบ้าง

หมวกสีแดง (Red Hat) ตัวแทนของความรู้สึก ให้ทุกคนบอกความรู้สึกออกมาได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุผล เป็นช่วงเวลาของการแสดงความรู้สึกล้วน ๆ เช่น รัก ชอบ ไม่ชอบ ชื่นชม กังวล

หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) แทนความหมายของดวงอาทิตย์ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับ สิ่งที่เป็นบวกทั้งหมด เป็นการมองส่วนที่เป็นประโยชน์ 95 เปอร์เซ็นต์ เช่น เศรษฐกิจซบเซาเป็นโอกาสดีที่ผู้บริหารจะได้มีเวลาสำหรับไปเยี่ยมเยียนลูกค้า เป็นต้น

หมวกสีดำ (Black Hat) เป็นตัวแทนของความกังวล วาดระแวง พูดถึงผลเสีย โทษและด้านลบทั้งหมด เป็นการเช็กข้อบกพร่อง 5 เปอร์เซ็นต์ล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความรอบคอบ แต่ต้องระวังไม่ให้มากเกินไป และควรใช้ตามความเหมาะสมเท่านั้น

หมวกสีเขียว (Green Hat) เปรียบเสมือนยอดอ่อนของต้นไม้ ใบหญ้าตัวแทนของแนวคิดที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหา เป็นการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างทางเลือกเพิ่มเติม

หมวกสีน้ำเงิน (Blue Hat) ตัวแทนของท้องฟ้าที่ครอบคลุมทุกสิ่ง และ เป็นตัวกำหนดเงื่อนไข ขั้นตอน รูปแบบทุก ๆ ด้าน เป็นการคิดที่ควบคุมขั้นตอนการคิดทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการคิด และได้ข้อสรุป เช่น วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้คือ...ขั้นต่อไปขอให้ทุกคนช่วยกันคิดหาหมวกเขียว...ขอให้ช่วยกันสรุปการหารือกันครั้งนี้

การคิดแบบ SIX Thinking Hats เป็นการแยกแยะการคิดออกเป็น 6 ด้าน เวลาคิดจะคิดทีละด้าน ทำให้เกิดการคิดอย่างมีคุณภาพ คิดได้รอบคอบ ครบถ้วน สามารถตัดสินใจได้อย่างรัดกุม ไม่หลุดหรือหลงลืมบางประเด็น เป็นระบบการคิดที่ ประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะหน่วยงาน องค์กร บริษัท รวมถึงบุคคลต่าง ๆ หากสามารถนำเครื่องมือที่กล่าวมาใช้เพื่อสร้างระบบการคิด ก็จะสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ขณะเดียวกันหากขยายกว้างขึ้นสู่ระบบเศรษฐกิจก็จะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ในที่สุด

ภาพจาก : http://www.extreme-creations.co.uk
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2553

Views: 919

Reply to This

Replies to This Discussion

เป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ชานชาลา
เรื่องราวรายละเอียดหนังสือตามลิงค์ค่ะ http://www.thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=974...
nice post!!!
สุดยอด อ่านละได้อะไรให้มา ปรับปรุงเยอะเลย >/body>

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service