DESIGN SYMPOSIUM 2015 NAOTO SPACE talk by NAOTO FUKASAWA sponsor by AP (Thailand)



ถือเป็นการทำงานร่วมกันครั้งแรกระหว่าง NAOTO FUKASAWA (นาโอโตะ ฟุคาซาวา) และบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมแบ่งปันแนวคิดและปรัชญาการทำงานของนักออกแบบชั้นนำอย่าง NAOTO FUKASAWA ผู้อยู่เบื้องหลังการถือกำเนิดและความสำเร็จของ MUJI และแบรนด์ชั้นนำของโลกอีกมากมาย เช่น B&B Italia, Maruni และ Issey Miyake ผ่านงานสัมมนาที่ทาง AP จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี รวมไปถึงการถ่ายทอดแนวคิดและกระบวนการในการออกแบบสเปซในวิธีของ NAOTO ให้กับห้องชุดยูนิตพิเศษ กับ LIMITED EDITION UNITS designed by NAOTO FUKASAWA ให้เฉพาะกับโครงการ RHYTHM ‘THE SLOW COLLECTION’ คอนโดมิเนียมระดับไฮเอ็นด์หนึ่งเดียวบนถนนสาทรภายใต้การพัฒนาโดย AP

ความสำเร็จในระดับนานาชาติของแบรนด์ MUJI คือข้อพิสูจน์ชั้นยอดถึงความสามารถของ นาโอโตะ ฟุคาซาวา ในฐานะนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในนักออกแบบในตำนานของโลก มุมมอง ความคิด และการตีความวัตถุของเขานำมาซึ่งผลงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่การใช้งาน ความงดงาม เรียบง่ายและการถ่อมตน อยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกลักษณ์


ความหลากหลายและความลึกซึ้งทางความคิดของนาโอโตะถูกสะท้อนให้เห็นในผลิตภัณฑ์ที่เขาออกแบบด้วยเหตุนี้ทาง AP จึงถึงโอกาสเชิญนาโอโตะมาร่วมสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยภายในคอนโดมิเนียมด้วยมุมมองใหม่ ที่ที่สเปซสำหรับการอยู่อาศัยในเมืองมีอยู่อย่างจำกัดแต่จะถูกตีความและออกแบบผ่านกระบวนการทางความคิดของของนาโอโตะ ที่ซึ่งความหรูหราถือกำเนิดในความเรียบง่ายอันแสน พิเศษและพื้นที่อยู่อาศัยจะถูกสร้างขึ้นจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้อย่างแท้จริง

เรื่องราวการร่วมงานสุดพิเศษระหว่าง นาโอโตะ กับ AP ถูกแบ่งปันให้กับเหล่าผู้ฟังในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ NAOTO SPACE ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ เหล่าผู้ฟังประกอบไปด้วยนักออกแบบ สถาปนิกหนุ่มสาว นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่รักและสนใจในผลงานของนาโอโตะ เพื่อรอฟังและรอชมเรื่องราวเกี่ยวกับการออกแบบสเปซเป็นครั้งแรกในประเทศไทยของเขา 

นาโอโตะเริ่มบรรยายด้วยการตีความ SPACE ผ่านการออกแบบบรรยากาศ สำหรับเขาแล้ว ‘การออกแบบ’ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ พื้นที่อยู่ หรือแม้แต่พื้นที่จัดแสดงงานนิทรรศการ ‘Ambience’ ดูจะเป็นหัวใจหลักที่ขับเคลื่อนกระบวนการสร้างสรรค์ทั้งหมด

แนวคิดทฤษฎีเรื่อง Affordance โดยนักจิตวิทยา James Gibson ที่ว่าด้วยเรื่องของบรรยากาศ (Ambience) ที่รอบล้อมตัวเรา หรือวัตถุถูกนำมาใช้อธิบายกระบวนการทางความคิดเชิงออกแบบที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมและความรู้สึกที่มนุษย์มีต่อพื้นที่ Affordance คือสิ่งที่เรารู้สึก การมีอยู่ทางนามธรรมของสิ่งที่อยู่รอบๆ พื้นที่ วัตถุ สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ที่สร้างคุณค่าให้กับสิ่งของหรือพื้นที่ ที่นำมาซึ่งประโยชน์การใช้สอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และตอบสนองกับพฤติกรรมและจิตใต้สำนึกพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีร่วมกัน 

นาโอโตะยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้งานวัตถุของมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การวางร่มพิงกำแพง โดยที่ปลายร่มถูกวางลงระหว่างช่องยาแนวเล็กๆ และแผ่นกระเบื้องบนพื้น อันเป็นการใช้งานพื้นที่และวัตถุที่มนุษย์ทำไปโดยจิตใต้สำนึก หรือโคมไฟที่ถูกออกแบบให้มีฐานเป็นจานวางกุญแจและของจิปาถะที่เรามักถอดออกเมื่อกลับถึงบ้าน รวมไปถึงระดับของสวิตช์ไฟที่เอื้อและสะดวกต่อการวางของลงในจาน ที่ทุกรายละเอียดของการใช้งานมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ สำหรับนาโอโตะแล้ว การออกแบบวัตถุและสเปซ ล้วนเกี่ยวพันใกล้ชิดกับพฤติกรรมและบรรยากาศ 

นาโอโตะมองภาพของสเปซไปพร้อมๆ กับการมีอยู่ของเฟอร์นิเจอร์  อันหมายถึงสิ่งที่สายตาของผู้ใช้พื้นที่จะมองเห็น และลักษณะการใช้งานของสเปซที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยมากที่สุด รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับพื้นที่ว่างระหว่างวัตถุ นาโอโตะเริ่มทำงานกับผังห้องสองแบบที่ AP ให้โจทย์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือห้องชุด 2 คอนเซ็ปต์ ได้แก่ 1) Archetype ห้องชุดขนาด 44.5 ตารางเมตร ที่พื้นที่ภายในถูกออกแบบให้อยู่ในโทนเข้มของสีไม้มาฮอกกานี และ 2) Absence ที่กว้างกว่าด้วยขนาด 50 ตารางเมตร อบอุ่นด้วยผิวสัมผัสและสีอ่อนของไม้โอ๊ค



และด้วยสเปซของทั้ง 2 ห้องนี้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่หรือคู่รักมากกว่าครอบครัวใหญ่ๆ ดังนั้น นาโอโตะจึงเริ่มต้มด้วยการค้นหา Movement และจุดที่ผู้อยู่อาศัยใช้งานพื้นที่บ่อยที่สุด เพื่อสร้างบรรยากาศและการใช้งานของห้องที่ตอบรับกับพฤติกรรมการอยู่มากที่สุด 

รวมไปถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ การเลือกโทนสีของห้อง และการเลือกใช้วัสดุ เขารังสรรค์รายละเอียดการตกแต่งขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ที่ผู้อยู่อาศัยมีต่อพื้นที่ภายใน รวมไปถึงวิวภายนอกที่ปรากฏผ่านช่องเปิดต่างๆ  สิ่งที่ห้องทั้งสองแบบมีร่วมกันคือการจัดการพื้นที่เพื่อสร้างพื้นที่ว่างให้มากที่สุด โต๊ะรับประทานอาหารถูกดันให้ติดกับผนังในรูปแบบของแผ่นไม้ที่วิ่งยาวตลอดแนวผนัง พร้อมหยิบยื่นการใช้งานอื่นๆ เช่นเป็นที่วางหนังสือ ของตกแต่ง หรือที่โต๊ะทานอาหารสัดส่วนและรูปลักษณ์ของโต๊ะดูสวยงามเป็นหนึ่งเดียวกับเก้าอี้ MARUNI คู่นั้น ที่เส้นสายและผิวสัมผัสอันอบอุ่นของไม้ กลายเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่เพิ่มความน่าอยู่ให้กับพื้นที่ภายใน

นาโอโตะให้ความสำคัญกับการสร้างโมเดลจำลองพื้นที่และบรรยากาศเป็นอย่างมาก ลักษณะของแสงธรรมชาติและตำแหน่งของไฟที่ตกกระทบภายในห้องในแต่ละช่วงเวลาของวัน ในแต่ละฤดูกาล และผลกระทบที่มีต่อบรรยากาศของห้อง ต่อเฟอร์นิเจอร์ที่วางตัวอยู่ภายใน ได้รับการทดสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนผ่านโมเดล ที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเหมือนจริงอย่างเหลือเชื่อ ขั้นตอนดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนาโอโตะ เมื่อทุกอย่างถูกปรับเปลี่ยนจัดเรียงให้อยู่ในสภาพที่เขาพอใจมากที่สุด ก่อนที่ผลงานที่เขาออกแบบจะถูกนำไปสร้างจริง การสร้างโมเดลจำลองจึงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในกระบวนการออกแบบในวิธีของนาโอโตะ

บรรยากาศอันอบอุ่น เข้าถึงง่าย เป็นมิตร แต่ก็เปี่ยมไปด้วยความสมบูรณ์แบบของรายละเอียด คือคุณสมบัติที่สะท้อนปรัชญาในการออกแบบนั่นคือ การทำในสิ่งที่เขามีความสุขที่จะได้ทำ การทำงานกับรายละเอียดปลีกย่อย ที่จะทำให้ผู้ใช้งานมีความสุข การนำพาตัวเองไปอยู่ในฐานะของผู้ใช้งาน การคำนึงถึงความคิดและความรู้สึกของผู้ใช้ คือหัวใจแห่งการออกแบบของนาโอโตะ ฟุคาซาวา

พบสเปซจริงของ LIMITED EDITION UNITS designed by NAOTO FUKASAWA บริบทใหม่ของการใช้ชีวิตแนวสูง ใกล้รถไฟฟ้า บนถนนสาทร พร้อมวิวโค้งน้ำเจ้าพระยา ได้ที่ RHYTHM ‘THE SLOW COLLECTION’ โดยเอพี เพื่อให้ทุกวินาทีของคุณช้าลง 

-----------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ:                                                                                                                                                          
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
02-261-2518-22

Views: 490

Reply to This

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service