Class: Post Modern Art 2 สอนโดย ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี

Postmodern Art 2


เนื้อหาในชั้นเรียนนี้ถูกจัดเตรียมขึ้น เพื่อนำนักศึกษาไปสู่ข้อถกเถียงและปัญหาต่างๆ ของคำว่า “ลัทธิหลังสมัยใหม่” (Postmodernism)

อย่างไรก็ตาม คำถามว่าลัทธิหลังสมัยใหม่คืออะไร?นั้น ไม่อาจตอบได้ด้วยคำอธิบายเพียงสั้นๆ เหตุเพราะ “ลัทธิหลังสมัยใหม่” ประกอบไปด้วยความซับซ้อนในหลายระดับของกลุ่มความคิดต่างๆ ซึ่งเริ่มแสดงท่าทีต่อข้อถกเถียงทางวิชาการตั้งแต่กลางทศวรรษที่80s อาจกล่าวได้ว่า “ลัทธิหลังสมัยใหม่” คือแนวคิด (Concept) ที่ปรากฏในหลายอาณาเขตของการศึกษา เช่น ศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม แฟชั่น สังคมศาสตร์ การสื่อสารมวลชน ตลอดรวมถึง สื่อและเทคโลยี่สมัยใหม่

ดังนั้น การทำความเข้าใจ “ลัทธิหลังสมัยใหม่” จำเป็นต้องทำการศึกษาควบคู่ไปพร้อมกับ ปรากฏการณ์ของ “สภาวะหลังสมัยใหม่” (Postmodernity) โดยเริ่มทำการศึกษาไล่เลียงไปถึงจุดเริ่มต้นของพัฒนาการใน “ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism) จุดสูงสุดของลัทธิสมัยใหม่ (High Modernism) กระทั่งถึงจุดเปลี่ยน และการมาถึงของลัทธิหลังสมัยใหม่ในหลายรูปแบบ ซึ่งฝังตัวเองและมาพร้อมกับขบวนการความเคลื่อนไหวใหม่ทางสังคม (New Social Movement) เช่นกลุ่มสิทธิสตรี (Feminism) ลัทธิหลังอาณานิคม (Postcolonialism) กลุ่มทางเลือกใหม่ (New Alternative) ฯลฯ โดยสร้างความเข้าใจผ่านแนวคิด และรูปแบบการเคลื่อนไหวของกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ ไปพร้อมกัน

แม้ว่าเนื้อหาโดยหลักของวิชานี้จะเพ่งเล็งประเด็นของการศึกษาไปที่ความสำคัญของแนวคิดต่างๆ ในโลกวิชาการตะวันตก นักศิกษาจะถูกถามให้ทำการเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าว เข้ากับสถานการณ์ ความเคลื่อนของวงการศิลปะ และวัฒนธรรมในประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการในโครงงานศิลปะของตนเองต่อไป


Course Schedule

ครั้งที่ 1 / 14 มกราคม 2556 : The "Death" or Abdication of the Author

ครั้งที่ 2 / 15 มกราคม 2556 : Skepticism and Self-Critical Art

ครั้งที่ 3 / 16 มกราคม 2556 : Life Imitates Art

ครั้งที่ 4 / 17 มกราคม 2556 : An Age of Electronic Simulation

ครั้งที่ 5 / 18 มกราคม 2556 : The Discourse of Others

ครั้งที่ 6 / 19 มกราคม 2556 : Postmodernism and Post-colonialism

ครั้งที่ 7 / 21 มกราคม 2556 : Postmodernism and New Social Movements

ครั้งที่ 8 / 22 มกราคม 2556 : After the POMO


เกี่ยวกับผู้สอน

ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี

อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ความคิด ในหลักสูตรปริญญาโทของสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ทัศนัยเป็นนักอ่าน นักวิจารณ์ มักวิเคราะห์สถานการณ์และพูดถึงสิ่งที่เขาคิดอย่างตรงไปตรงมา เขามุ่งเน้นการศึกษาเชิงทฤษฎีสายสังคมศาสตร์ มากไปกว่าการฝึกฝีมือเชิงช่าง ซึ่งกินความกว้างขวางออกไปมากกว่าการผลิตวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่างานทัศนศิลป์ เขาสนใจศึกษาเชิงวิพากษ์ทางสังคม-วัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับ Media Ethnography and Visualizing Culture Study


คุณสมบัติผู้สมัคร:

- เป็นผู้สนใจในด้านศิลปะวัฒนธรรม

- จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย เป็นอย่างน้อย มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะมาบ้าง

- มีทักษะในการ พูด/ฟัง/อ่าน/เขียน ภาษาไทยอยู่ในระดับดี

- กรุณากรอกใบสมัคร พร้อมแนบประวัติโดยย่อ


หมายเหตุ:

ค่าเล่าเรียน: คนละ 5,000 บาท / การบรรยาย 8 ครั้ง

สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดการโอนเงินที่คุณ โสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์ โทร: 081 409 7680

การสำรองที่นั่งไม่ถือว่าเป็นการยืนยันเข้าร่วมคลาสเรียน การยืนยันเข้าร่วมคลาสเรียนหลังจากส่งสำเนาการโอนเงินแล้วเท่านั้น หมดเขตรับสมัครภายในวันที่ 15 มกราคม 2556 จำนวนจำกัด 20 คน

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : โสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์ 081 409 7680

อีเมล์ : education@ jimthompsonhouse.com


หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถ.พระราม 1 ปทุมวัน กทม 10230

สำนักงาน: 02.219.2911 / 02.612.6741

อีเมล์: education@jimthompsonhouse.com

เว็บไซต์: www.jimthompsonhouse.com / www.thejimthompsonartcenter.org

Views: 394

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service