นิทรรศการศิลปะ A Brief View Of Everything

ระยะเวลาจัดงาน: 8 พฤศจิกายน - 25 ธันวาคม 2553
สถานที่: หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย: จัสติน มิลส์



         ทัศนคติที่เราใช้มองโลกย่อมมีอิทธิพลต่อโลกที่เราทุกคนอาศัยอยู่ ในยามที่เกิดปัญหาความขัดแย้งวุ่นวายผู้คนต่างพยายามค้นหาเหตุผลเพื่อใช้อธิบายต้นเหตุแห่งปัญหาและเพื่อหาทางแก้ไขข้อเท็จจริงและสมมุติฐาน หลักปรัชญาและสถิติถูกนำมาใช้ประกอบการพูดคุยโต้เถียงเพื่อที่จะได้มาซึ่ง ความจริง
และทางออก

          A Brief View Of Everything นิทรรศการศิลปะโดยจัสติน มิลส์ ศิลปินชาวอังกฤษ
และฟรังโก้ อันเจโลนิ ศิลปินลูกครึ่งดัตช์-อิตาเลี่ยน
เปรียบเสมือนเวทีที่เชื้อเชิญให้ผู้ชมได้เข้ามามีส่วนร่วมในบทสนทนาดังกล่าว
นิทรรศการประกอบไปด้วยผลงานจิตรกรรมชุด 48 Portraits of God ของจัสติน
และผลงานที่เป็น “ข้อความ” และ “สถานการณ์” ของฟรังโก้
ซึ่งจะท้าทายการรับรู้ของผู้ชมและนำเสนอมุมมองที่แตกต่างในการมองโลก ตัวเอง
และผู้คนรอบข้าง ในหลายกรณี
งานของศิลปินทั้งคู่อาจจะกระทบความรู้สึกของผู้ชมอย่างรุนแรง
หรือดูเหมือนสามารถตีความได้ไม่สิ้นสุด
ทั้งนี้เพราะผลงานต้องการลบล้างมุมมองที่คับแคบและมีอคติที่หลายคนอาจมี
และเปิดช่องให้เห็นทัศนคติอีกด้านหนึ่งที่เปิดกว้างมากขึ้นและไม่กีดกันผู้ใด
ถึงแม้ว่าบางครั้งทัศนคติดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่หลายคนรู้สึกยอมรับได้ยากก็ตาม
         จัสตินมิลส์
          48 Portraits Of God
          คุณคิดว่า เลดี้กาก้า ห้องรมแก๊สพิษของนาซี เจ้าชายสิทธัตถะ และการพันธนาการในกิจกรรมทางเพศแบบญี่ปุ่น มีอะไรที่เกี่ยวเนื่องกัน ตามความเห็นของจัสติน มิลส์
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็น “พระเจ้า” ในสายตาเขา
ศิลปินชาวอังกฤษผู้นี้ต้องการเสนอความคิดที่ว่า “พระเจ้าอาจคือทุกสิ่งทุกอย่าง
และทุกสิ่งทุกอย่างอาจคือพระเจ้า” ผ่านทางผลงานจิตรกรรม
หลังจากที่เขาได้ศึกษาปรัชญาทางศาสนาหลัก ๆ ของโลกมาเป็นเวลา 25 ปี
ศิลปินได้เข้าใจถึงแนวความคิดที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งในการไม่แยกฝักฝ่ายที่ปรากฏอยู่ในแก่นของหลักคำสอนต่าง

ความเป็นเอกภาพที่มีอยู่ในหลักคำสอนคือสิ่งที่ศิลปินพยายามเผยให้เห็นในรูปแบบใหม่ของงานศิลปะยุค post-post-modern หรือ
“ศิลปะแบบบูรณาการ” ที่ก้าวพ้นขอบเขตและครอบคลุมความหลากหลายต่าง ๆ
เข้าไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นี่คืองานศิลปะที่ “เกี่ยวเนื่อง”
กับการแสดงออกของตัวตนมากกว่าจะเป็น “แค่” การแสดงออกของตัวตน
อย่างไรก็ดีจิตรกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาพประกอบสำหรับความคิดเชิงปรัชญาและศาสนา
ผลงานเปิดโอกาสให้คนได้ตีความความคลุมเครือที่ท้าทายความคิดที่มีอยู่
หรือจะเพียงแต่ชื่นชมความงามของภาพที่ปรากฏก็ได้เช่นกัน
          จัสตินกล่าวว่า “เมื่อผมใช้คำว่า “พระเจ้า” ในชื่อผลงานภาพจิตรกรรมแต่ละชิ้น คำว่าพระเจ้าไม่ได้มีความหมายอย่างที่ชาวคริสต์โดยทั่วไปเข้าใจว่าเป็นผู้หรือสิ่งที่อยู่ภายนอก
มีอำนาจล้นพ้น และชอบตัดสินผู้อื่น
ผมใช้คำนี้ในความหมายที่อยู่เหนือความดีและความเลว สิ่งที่อยู่ภายในและภายนอก
และเป็นทั้งสิ่งที่ก้าวพ้นขอบเขตใด ๆ และกำลังจะเผยตัวให้เห็น
เป็นสิ่งที่นักปรัชญาชาวอเมริกันชื่อเคน วิลเบอร์ อธิบายในหนังสือ The Integral
Vision ของเขาไว้ว่า
          เป็นที่มาของสรรพสิ่ง เป็นจิตตระหนักรู้สากล เป็นตัวตนที่บริสุทธิ์ ไร้ขีดจำกัดไร้ขอบเขต
และไร้ตัวตน เป็นสิ่งที่อยู่เหนือการให้คำจำกัดความใด ๆ
ทางความคิด
แต่ก็เป็นสิ่งที่เรียบง่ายและเห็นได้ชัดเหมือนกับตัวผู้ที่กำลังอ่านข้อความนี้อยู่...
 
          ฟรังโก้อันเจโลนิ
          งานศิลปะของฟรังโก้ อันเจโลนิ ศิลปินชาวดัตช์-อิตาเลี่ยน เต็มไปด้วยความน่าฉงนและแรงปรารถนาที่จะเข้าใจชีวิตและใช้ชีวิตให้สมบูรณ์แบบ
ชีวิตที่เป็นปริศนาที่ไม่มีผู้ใดเข้าใจได้ทั้งหมด
แต่ก็เผยตัวต่อผู้ที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ทุกชั่วขณะ
ทุกสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในธรรมชาติสามารถกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับฟรังโก้ได้ทั้งสิ้น
ให้ศิลปินได้ครุ่นคิดพิจารณาและใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างผลงาน
เพื่อให้ในท้ายที่สุดแล้วจะได้เข้าใจโลกมากขึ้น
          ในการโต้ตอบกับผลงาน 48 Portraits Of God ของจัสตินในเชิงปรัชญา ฟรังโก้ได้สร้าง
“ข้อความ” ที่บางส่วนถูกขีดเขียนด้วยเลเซอร์ลงบนแผ่นโลหะ และ “สถานการณ์” ขึ้นมา
ซึ่งล้วนดูแปลกและก็ยอกย้อนความคิด กระนั้น ผลงานเหล่านี้ก็ตั้งคำถามหนัก ๆ
เกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติต่อการดำรงชีวิตของคน ข้อความหนึ่งเขียนว่า “Welcome
to the 8th Floor” ซึ่งอาคารที่หอศิลปฯ ตั้งอยู่ไม่มีชั้น 8
หรืองานพิเศษชิ้นหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า “Device To Enable Myopic People To Capture
Mr/Mrs Ambition From A Closer Distance”
ซึ่งเชื้อเชิญให้ผู้มาชมนิทรรศการใช้กล้องส่องทางไกลมองกวาดสายตาออกไปจากระเบียงของอาคารเพื่อหาผลงานไฟนีออนที่ศิลปินได้ซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งในเมืองและตึกรามบ้านช่องที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า
นอกจากนี้ สิ่งที่อยู่ภายใต้ผลงานชุดใหม่ของฟรังโก้คือคำสอนของท่านกฤษณามูรติ
นักปรัชญาชาวอินเดีย ในผลงานเหล่านี้
ผู้ชมจะเห็นความคิดของศิลปินที่มีต่อปรัชญาของปราชญ์ผู้นี้ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ
ที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นความรักและความกลัว
ไปจนถึงความปรารถนาและความอิจฉาริษยา
การให้ได้มาซึ่งอำนาจและการปฏิวัติของจิตใจภายใน
ตลอดจนการเดินทางจิตวิญญาณและหายนะที่เกิดขึ้นจากความทะเยอทะยานของมนุษย์
          ฟรังโก้กล่าวว่า
ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะมีใครมาทำให้โลกดีขึ้นสำหรับผมหรือสำหรับพวกเราทุกคนการปฏิวัติที่ผมพูดถึงไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรบนท้องถนนในรูปแบบการชุมนุมประท้วง
หรือในการต่อสู้และสงคราม พูดง่าย ๆ
ก็คือการปฏิวัติดังกล่าวไม่ได้เป็น
การกระทำ
ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในโลกภายนอกการปฏิวัติเดียวที่ผมเข้าใจว่าสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือการปฏิวัติภายในเป็นการพิจารณาวิถีความคิดที่เราใช้มองตนเองและชีวิตและเป็นการมองความเสื่อมทรามทางจิตใจอย่างตรงไปตรงมาอันจะนำมาซึ่งกระบวนการของความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างจริงใจและหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สิริวัฒน์ โพธิ์กระเจน (เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์)
โทร. 081-629-0457 อีเมล์: siriwatpokrajen@yahoo.cominfo.artcenterchula@gmail.com
 
หอศิลปวิทยนิทรรศน์
ชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์: 0-2218-2965 โทรสาร: 0-2218-2907
อีเมล์: info.artcenterchula@gmail.com
 



A Brief View Of Everything
By Justin Mills and Franco Angeloni
At The Art Center, Center of Academic Resources, Chulalongkorn University
November 8 – December 25, 2010
Opening Reception: Thursday November 11, 2010, 6-8:30pm
 
          How we see the world influences the world we live in. In times of great chaos and conflict, there is often a desperate need to find an explanation as to why a certain problem occurs and what will be
the solution to that problem. Based on facts as much as assumptions, referencing
philosophies as much as statistics, debates and discussions are formed to
address ‘the truth’ of ‘the matter’ and reach a consensus on a
resolution.
 
          A Brief View Of Everything, a two-person exhibition by British artist Justin Mills and Dutch/Italian artist Franco Angeloni, offers itself as a platform to engage the viewer in this dialogue. Featuring Mills’
iconic '48 Portraits Of God' series and Angeloni’s combination of messages and
happenings, the show creates a challenge to people’s perception and proposes a
different view, or different views, with which we can see the world, ourselves
and one another. At times shocking and indefinite, their art attempts to widen
any fixed, narrow and judgmental point of view we may have and gives a glimpse
of perspectives that are more open and inclusive, even when those perspectives
are difficult for us to take in.
 
          Justin Mills
          48 Portraits Of God
          What do Lady Gaga, Nazi gas chambers, Prince Siddartha and Japanese bondage all have in common? They are all God according to British artist Justin Mills, who
suggests that 'perhaps God is Everything and Everything is God' and he attempts
to make this possibility more real in his paintings. After twenty five years of
studying the world's spiritual philosophies he has come to understand
that this simple, profound proposition of non-duality is found at the core of
all the great wisdom traditions. It is the intrinsic, underlying unity of all
things indicated in the art of all the great religions that he is now trying to
reveal in a new form of post-post-modern art, or 'integral art', as it
transcends and includes as much as possible. This is art concerned more with
Self-expression than mere self-expression. But these paintings are not just
illustrations for a spiritual philosophy, their provocative ambiguity gives the
viewer plenty to do in terms of interpretation, and yet they can also be enjoyed
simply for their radiant beauty.
          Mills says: “When the word 'God' is used in the titles of my paintings it does not refer to the orthodox
Christian notion of an external, all-powerful, judgmental being. It refers more
to something beyond good and evil, something internal and external, both
transcendent and imminent, something that American philosopher Ken Wilber
describes, in his book‘The Integral Vision’, as:
          'a ground of all being; a universal consciousness; a pure, infinite, transcendental, selfless Self; beyond any conceptualizations at all, but as simple and obvious as the person who is
reading this...'”
 
          Franco Angeloni
          Dutch/Italian artist Franco Angeloni’s art is full of curiosity and the wish to understand life and perfect it – life that is a mystery no one has a complete
understanding of but marvelously unfolds itself in front of the eyes of the
person who lives it every second. Everything that exists in nature can become a
motive for Angeloni to speculate upon and to use as a means to shape his work
and thus get a better insight into the world.
          As a conceptual response to Mills’ ‘48 Portraits Of God’, Angeloni created ‘messages’ – some of
which have been laser cut in metal plates, and ‘happenings’ that are curious and
playful. Yet, these works ask several difficult questions about one’s perception
and attitude toward living. One message says ‘Welcome to the 8th Floor’ despite
the fact there is no 8th Floor in the building of The Art Center. With one
special work entitled ‘Device To Enable Myopic People To Capture Mr/Mrs Ambition
From A Closer Distance’, visitors are challenged to scrutinize the panoramic
view from the balcony of The Art Center with binoculars to discover a neon work
which is actually hidden in the cityscape. Anyone can participate of their own
free will. Also, lying beneath his most recent work is the teachings of Indian
philosopher J. Krishnamurti. In Angeloni’s works, the viewer will see the
artist’s reflection on the master’s philosophy, which addresses all things
humankind has been dealing with for thousands of years, from love and fear to
desire and envy, from power-gaining to a true inner mind revolution, from
spirituality to the disastrous consequences of human ambition.
          Angeloni says: “I am not expecting anybody out there to make this world better for me, for us all. The revolution I am talking about is not that which occurs in the Houses of legislators or the Parliament,
or in the streets by mass demonstrations, or during fights, wars, or in short,
in the actions performed by humans in the outside world. Rather, the only
revolution that I understand as potentially being able to create a truly radical
change is the revolution inside: an inner reconsideration of the way one
observes oneself and life and honestly sees the rotten and corrupting forces in
it. Hence, the birth of a sincere and inevitable process of wanting to change
it.”
 
For more information, please contact:
Siriwat Pokrajen (PR Officer)
 
The Art Center
7th Fl, Center of Academic Resources, Chulalongkorn University
Phyathai Rd, Pathumwan, Bangkok 10330
Tel: 0-2218-2965
Email: info.artcenterchula@gmail.com
 

Views: 92

Reply to This

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service