มหัศจรรย์ไม้ไผ่ ในงานศิลปะญี่ปุ่น

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ร่วมกับเมืองเบปปุ และศูนย์หัตถศิลป์ไม้ไผ่แบบ ดั้งเดิมเมืองเบปปุ ประเทศญี่ปุ่น จัดนิทรรศการ "มหัศจรรย์ไม้ไผ่"
บอกเล่าถึงต้นกำเนิดของหัตถศิลป์ไม้ไผ่ที่กว่าจะเป็นสินค้าเงินล้าน
พร้อมตีแผ่ภูมิปัญญาและกรรมวิธีถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม แห่งเบปปุ


นายอภิสิทธ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC
กล่าวว่า
นิทรรศการครั้งนี้มุ่งหวังให้คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการใน
กลุ่มงานหัตถ กรรม ซึ่งถือเป็น 1 ใน 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
อันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญ
และยกระดับมาตรฐานของงานหัตถกรรมไทยให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นทัดเทียมงาน
หัตถศิลป์ในระดับสากล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้กระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งหัตถศิลป์
ไม้ไผ่เบปปุ
ที่เกิดจากการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์รวมกับทรัพยากรอันมีค่า
ผนวกกับการสืบสานอัจฉริยภาพท้องถิ่น
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่วงการอุตสาหกรรมหัตถศิลป์ในท้องถิ่นตน



ภายในนิทรรศการมีผลงานหัตถศิลป์ไม้ไผ่จำนวนมากที่ฝีมือช่างแดนปลาดิบจัด วางอย่างดี ทั้งยังมีรูปร่างรูปทรงสะดุดตา เช่น ผลงานเชิงประติมากรรม
ชิโอไซ (ทะเลคลั่ง) โดย ฮิโรอิ ยาซุชิ ที่ทำจากไม้ไผ่มาดาเคะ ไผ่ซูซูดาเดะ
และหวาย สานด้วยลายคุชินหรือลายซี่หวี แล้วค่อยๆ
ขดวงเส้นตอกไม้ไผ่ที่มีขนาดต่างๆ ลดหลั่นให้ทับซ้อนกัน
ที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ ผลงานเคียวคุโด หรือแสงเหนือ โดย ฮอนดะ โชริว
ที่แสดงถึงการบิดและสานเส้นตอกไม้ไผ่ให้ร่วมสมัยแม้นำมาใช้งานแบบดั้งเดิม
แต่งด้วยเทคนิคการย้อมสีตอกไล่เล่นแสงเงาทำให้ผลงานเหมือนงานโลหะ
เมื่อมองมุมใดก็ดูแปลกตาและมีเอกลักษณ์






สำหรับพันธุ์ไผ่ที่พบในญี่ปุ่นซึ่งมี 6 สายพันธุ์ ได้แก่ ไผ่มาดาเคะ
นิยมปลูกเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่น และด้วยมีผิวบาง มันวาว เนียน
แถมมีเส้นใยแข็งแรงยืดหยุ่นดี จึงนำมาจักตอกสานงานหัตถกรรม
โดยงานหัตถศิลป์ร้อยละ 80 ทำจากไผ่ชนิดนี้ 2.ไผ่โมโซชิคุน
ที่มีจุดเด่นข้อต่อของลำปล้องไม้ไผ่แนวเส้นตรง
แต่ด้วยแปรรูปยากจึงไม่นิยมนำมาสาน
แต่เน้นความทนทานที่ไม่ต้องการรายละเอียดมาก 3.ไผ่เนมาการิ
ที่ช่างหัตถศิลป์ไม้ไผ่สายคันโตนิยมใช้ไม้ไผ่สายพันธุ์นี้ทำงานสานลาย
4.ไผ่โทราฟุ ดาเคะ หรือ ไผ่สายเสือ ที่มักนำมาเป็นวัสดุตกแต่งก่อสร้าง
ด้วยมีริ้วสีน้ำตาลเข้มสวยงามซึ่งเกิดจากเชื้อรา
แบคทีเรียบนผิวลำปล้องไม้ไผ่ 5.ไผ่คันชิคุ
นิยมปลูกเป็นแนวรั้วธรรมชาติในสวน 6.ไผ่โคโระ ชิคุ
ที่ช่วงแรกเป็นสีเขียวเหมือนพันธุ์อื่นแต่เมื่อเริ่มโตจะค่อยๆ
เปลี่ยนเป็นสีดำในเวลา 1 ปี นิยมนำมาทำวัสดุตกแต่งภายใน



นอกจากนี้ ยังได้ตื่นตากับผลงานจำนวนมากที่ละเอียด งดงาม มีเอกลักษณ์แฝงไปด้วยประโยชน์ใช้สอย และที่น่าตื่นตา หลังกวาดสายตาไปเรื่อยๆ ก็สะดุดข้อความว่า


"เราจะทำงานไม้ไผ่อันน่าชิงชังให้มีคุณค่าเทียมเท่าศิลป์
และคว้าดาวมาอยู่ในมือให้ได้ด้วยการสร้างงานไม้ไผ่..."
จากเรื่องราวของศิลปินแห่งชาติ "โชนะ โชอุนไซ"
ซึ่งงานนี้ยกเอาทั้งภาพถ่ายซีเปียขนาดใหญ่
ที่ตั้งเคียงกับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขางานหัตถศิลป์ไม้ไผ่ รวมถึงผลงานชิ้นเอกที่แสดงถึงความเรียบง่าย สวยงาม
มาให้ได้ตื่นตา ขณะที่ผลงานของคนรุ่นลูกนั้น
จากหัตถศิลป์จะเห็นพัฒนาการที่เป็นงานประติมากรรมโดดเด่น



ไม่ไกลกันจะเห็นเครื่องไม้เครื่องมือหลากหลายของช่างชาวญี่ปุ่นที่นำมาส ร้างสรรค์ผลงาน
โดยรอบโต๊ะจัดแสดงนั้นจะมีภาพถ่ายของเครื่องมือแต่ละชิ้นที่บอกเล่าถึงการ
ใช้เครื่องมือแต่ละชนิดโดยละเอียด
ไม่ไกลนักหากใครเมื่อยก็พักยกพร้อมทดสอบฝีมือและเรียนรู้วิธีการสานลายต่างๆ
ผ่านวีดิทัศน์ที่จัด เตรียมให้พร้อม


และอย่าลืมเข้าไปชมกันใกล้ๆ กับ 28 ลายที่จัดแสดงไว้ข้างฝา อาทิ
ลายมุทสิเม-คิคุ หรือลายสาน 6 เหลี่ยม
ที่ผสมลายตารางด้วยเส้นตอกไม้ไผ่เล็กๆ สานจะได้ลายดอกเบญจ มาศแปลง
ลายโมโรโคชิ หรือลายซังข้าวโพด ลายชิโดริ คาเคะ หรือลายเท้านก ลายมัทสึบะ
หรือลายใบสนเข็ม เป็นต้น


สนใจร่วมงามได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 เม.ย. ทุกวัน เวลา 10.30-21.00
น. ยกเว้นวันจันทร์ ที่ห้องนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ที่
ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ โทร.0-2664-8448 ต่อ 213 และ 214
หรือคลิกที่ www.tcdc.or.th



ในวันศุกร์ที่ 26 ก.พ.นี้ เวลา 14.00-16.00 น. จะมีการบรรยายในหัวข้อ
"มหัศจรรย์ไม้ไผ่ ตอน พื้นฐานความรู้เรื่องไผ่" โดย รศ.ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการ เกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประธานชมรมคนรักไผ่
กับการร่วมเจาะลึกถึงความหลากหลายของพันธุ์ไผ่ คุณประโยชน์
และประเภทของไม้ไผ่ในเขตป่าร้อนชื้นของไทย
พร้อมเรียนรู้วิธีการนำไม้ไผ่ไปใช้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างและสร้าง
เอกลักษณ์เฉพาะตัว



ที่มา ข่าวสด วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7026  


Views: 75

Reply to This

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service