กลุ่มเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมในเฟซบุ๊ก: ว่าด้วยวัฒนธรรมและการต่อต้านในสังคมไทย

ที่มา มติชนออนไลน์ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552


ตราสัญลักษณ์ของกลุ่ม "พวกเราเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมฯ
------------------------

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า มีบุคคลไปตั้งกลุ่มชื่อว่า "We′re sick of Minister of Culture in Thailand" ซึ่งแปลว่า "พวกเราเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทย" ในเว็บไซต์เครื่อข่ายทางสังคมชื่อดังอย่าง "เฟซบุ๊ก" พร้อมกับได้นำตราสัญลักษณ์ของกระทรวงไปดัดแปลงเป็นตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม รวมทั้งแปลงชื่อกระทรวงวัฒนธรรมเป็น "กระทรวงขัดขวางความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรม"


โดยกลุ่มดังกล่าวได้นำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกระทรวงวัฒนธรรมมาโพสต์ไว้ใน เว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนจำนวนหนึ่งมาแสดงความคิดเห็นโจมตีการทำงานของ กระทรวง กระทั่งนายธีระต้องสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องไปทำการตรวจสอบผู้นำตราของ กระทรวงไปดัดแปลงและเขียนข้อความไม่เหมาะสมว่าเป็นใครและมีวัตถุประสงค์อะไร ทั้งนี้กระทรวงจะพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด เพราะไม่อยากให้เรื่องราวบานปลายมากไปกว่านี้


ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ได้เข้าไปตรวจสอบ กลุ่มในเว็บไซต์เฟซบุ๊กดัง กล่าว พบว่า ณ เวลาประมาณ 20.30 น. ของวันที่ 18 ธันวาคม ได้มีผู้ใช้เว็บไซต์เฟซบุ๊กสมัครเข้ามาเป็นแฟน/สมาชิกของกลุ่ม "พวกเราเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทย" เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,187 คน


โดยข้อความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจของกลุ่มดัง กล่าวจะมีทั้งข้อความที่ผู้ จัดตั้งกลุ่ม "พวกเราเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมฯ" นำมาโพสต์ไว้แล้วมีแฟน/สมาชิกของกลุ่มเข้ามาแสดงความเห็นต่อท้าย และข้อความที่บรรดาแฟน ๆ/สมาชิกมาโพสต์เอาไว้เองแล้วมีสมาชิกคนอื่นเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสมทบ


จากการตรวจสอบ แม้จะพบว่ามีการแสดงความคิดเห็นที่ใช้ถ้อยคำหยาบคายไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ปรากฏอยู่อย่างชัดเจนในเว็บเพจของกลุ่มคนกลุ่มนี้กลับเป็นประเด็น อื่นที่มีความน่าสนใจยิ่งกว่านั้น


รายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่า กลุ่มในเว็บไซต์เฟซบุ๊กนี้ถือกำเนิดขึ้นมาจากการที่มีบุคคลเข้าไปตั้งกระทู้ ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของกระทรวงวัฒนธรรมในเว็บไซต์พันทิป และมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นทั้งทางบวกและลบเป็นจำนวนมาก โดยบางข้อความได้พาดพิงถึงการทำงานของหน่วยงานบางหน่วยในกระทรวงอย่างรุนแรง กระทั่งมีการดำเนินคดีทางกฎหมายพร้อมทั้งแจ้งให้เว็บไซต์พันทิปปิดกระทู้ แสดงความคิดเห็นดังกล่าว ส่งผลให้บรรดานักท่องอินเตอร์เน็ตไม่เห็นด้วยกับการกระทำเช่นนั้น เพราะเห็นว่าเป็นการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน


อย่างไรก็ตาม ผู้จัดตั้งกลุ่ม "We′re sick of Minister of Culture in Thailand" กลับโพสต์ไว้ในหน้าเว็บเพจของตนเองว่า แม้พวกตนจะรังเกียจการกระทำของกระทรวงวัฒนธรรมในกรณีเว็บไซต์พันทิปมาก แต่สาเหตุที่มีการจัดตั้งกลุ่มนี้ขึ้นมายังเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ "สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน"


คำถามก็คือ อะไรคือปัจจัยอื่น ๆ เหล่านั้นบ้าง?


จากการสำรวจ ข้อความที่ปรากฏในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ทำให้ได้พบเห็นถึงประเด็นความขัดแย้งหลักสองประการอันส่งผลให้เกิดกระแสต่อ ต้านกระทรวงวัฒนธรรมตามมา ได้แก่




1. อำนาจของกระทรวงวัฒนธรรมและเสรีภาพของผู้คน


ประเด็นปัญหาแรกที่ปรากฏผ่าน การโพสต์ข้อความในเว็บเพจของกลุ่ม "พวกเราเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมฯ" ก็คือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจของกระทรวงดังกล่าว และการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้คน เช่น การแสดงความเห็นว่า อำนาจ (ซึ่งหลาย ๆ ความเห็นอ้างอิงไปที่อำนาจในการเซ็นเซอร์) ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้รับมาจากประชาชนนั้นจำเป็นต้องถูกตรวจสอบ หรือ วัฒนธรรมไทยเป็นของคนไทยทั้งชาติ ไม่ใช่ของคนในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง


รวมทั้งการที่สมาชิกของกลุ่มคนหนึ่งได้ไปสืบย้อนรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ของกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมกับระบุว่า กระทรวงแห่งนี้เคยถูกตั้งขึ้นมาเป็นครั้งแรกในยุคเผด็จการเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว จงอย่าคิดว่าจะเหยียบหัวประชาชนได้เหมือนในตอนนั้น จงเลิกคิดว่าประชาชนต้องยอมสยบให้กับราชการ


และแน่นอนว่า ย่อมต้องมีสมาชิกของกลุ่มบางคนเข้ามาแสดงความเห็นว่า การรวมกลุ่มต่อสู้กันครั้งนี้เป็นการสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น


2. การแย่งกันนิยามความหมายของคำว่า "วัฒนธรรม"


ผู้สมัครเข้าเป็นแฟน/สมาชิกของกลุ่ม "พวกเราเบื่อหน่ายกระทรวงวัฒนธรรมฯ" นั้น โดยมากจะเป็นคนรุ่นใหม่ นั่นน่าจะส่งผลให้พวกเขานิยามความหมายของคำว่า "วัฒนธรรม" อย่างแตกต่างออกไปจากรัฐมนตรีและข้าราชการของกระทรวงวัฒนธรรม ที่พวกเขาเห็นว่าเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม



ดังเช่นข้อความที่ว่า "ผู้ใหญ่ในกระทรวงใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น ไม่เคยเสพย์งานศิลปะ และไม่เคยเข้าใจโลก" หรือ "วัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงของเก่าอย่างเดียวนะครับ ทำไมไม่ส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ไทยบ้าง" ซึ่งการปะทะกันระหว่างคุณค่าของวัฒนธรรมใหม่และวัฒนธรรมอนุรักษ์นี้ยังปรากฏ อยู่ในหัวข้อสนทนาของสมาชิกในกลุ่มเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางด้านวัฒนธรรม ร่วมสมัยต่าง ๆ เช่น กรณีปฏิทินเบียร์ลีโอ และ กรณีที่ดาราสาวรายหนึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าตกแต่งทรงผมไม่เหมาะสมขณะเข้า ร่วมพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร


จากการสำรวจตรวจสอบข้อความในเว็บเพจของกลุ่ม "We′re sick of Minister of Culture in Thailand" สิ่งที่น่าสนใจจริง ๆ ซึ่งปรากฏผ่านการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านกระทรวงวัฒนธรรมผ่านเครือข่ายทางสังคม ออนไลน์อย่างเว็บไซต์เฟซบุ๊ก จึงน่าจะเป็นเรื่องราวของการที่ผู้คนจำนวนหนึ่งพยายามตั้งคำถามเกี่ยวกับ อำนาจในการนิยามความหมายของคำว่า "วัฒนธรรม" ซึ่งตามความเห็นของพวกเขา อำนาจดังกล่าวไม่ควรถูกผูกขาดโดยรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว หากควรถูกร่วมนิยามโดยผู้คนที่มีสิทธิเสรีภาพด้วย


กระทรวงวัฒนธรรมจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยแห่ง การถือกำเนิดขึ้นมาของกลุ่ม ดังกล่าวให้ละเอียดถี่ถ้วน และถ้าหาก "วัฒนธรรม" หมายถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนอันแตกต่างหลากหลาย "ความเจริญงอกงาม" ของคนกลุ่มหนึ่งก็อาจมีความหมายที่แตกต่าง/ตรงกันข้ามในโลกทัศน์ของคนอีก กลุ่มได้เช่นกัน


ดังนั้น วัฒนธรรมและการต่อต้านจึงไม่ใช่สองสิ่งที่มีความแปลกปลอมต่อกันแต่ประการใด

Views: 25

Reply to This

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service