“สัปดาห์นับช้างป่ากุยบุรี”

ความเป็นมาของกิจกรรม “สัปดาห์นับช้างป่ากุยบุรี”

กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและชมรมฅนรักษ์ช้างป่า ได้ดำเนินกิจกรรมสัปดาห์นับช้างป่ามาแล้ว 2 ครั้ง ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชมหาราช ซึ่งเป็นป่าเชื่อมต่อกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 5-10 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว (วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวัน เฉลิมพระชนมพรรษา) และ ครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้ง (วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย)

ทำไมจึงต้องมีการสำรวจและทำทะเบียนช้างป่าในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ฯ

การ ทราบจำนวนโครงสร้างประชากรของช้างป่าในผืนป่าใดๆ และติดตามการเปลี่ยนแปลงประชากรของพวกมันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนหากสามารถทำทะเบียนช้างป่าแต่ละตัว แต่ละฝูงได้จะเป็นประโยชน์ ต่อการวางแผนการอนุรักษ์และจัดการช้างป่าในระยะยาว รวมทั้งสามารถให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเกิดมีกรณีการล่า และจับช้างป่าออกมา รวมทั้งสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อชด เชยความเสียหายจากปัญหาช้างป่าออกมาทำลายพืชไร่ ตลอดจนส่งเสริมให้มีนัก วิจัยช้างป่ารุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น

เนื่องจาก ช้างป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการพระ ราชดำริฯ เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร โป่งธรรมชาติ และโป่งเทียม จำนวนมากเนื่องจากได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่า อีกครั้งหนึ่งตามโครงการพระราชดำริฯ จึงเป็นพื้นที่ที่พบเห็นตัวช้างป่าได้ง่าย ทำให้การนับจำนวนช้างป่าและการทำทะเบียนช้างป่าแต่ละตัว และแต่ละครอบครัวสามารถทำได้โดยสะดวกโดยการสำรวจโดยตรงและการถ่ายภาพนิ่งและ วีดีโอ

วิธีการสำรวจ

จัดให้อาสาสมัครขึ้นนั่งบนห้างชั่วคราว ที่สร้างใกล้แหล่งน้ำ และบริเวณที่ช้างเดินผ่าน จำนวน 25 ห้าง ๆ ละ 1-2 คน ตั้งแต่ เวลา 9.30 – 18.30 น. หรือค้างคืนที่ห้าง (กรณีที่ห้างนั้นอยู่ในพื้นที่ไกลจากจุดอื่นซึ่งต้องใช้ระยะเวลารับส่งนาน เมื่อเกินเวลา 18.30 ต้องพักค้างคืนที่ห้าง) เมื่อพบช้างป่าเข้ามา ทำการบันทึกข้อมูล จำนวนช้าง และโครงสร้างประชากรของช้างที่เห็น ได้แก่ เพศ ชั้น อายุ (ตัวเต็มวัย ตัวก่อนเต็มวัย วัยรุ่น และ ลูกช้างเล็ก) พฤติกรรมที่พบ เวลาที่ช้างออกมา และกลับออกไป บันทึกลักษณะเด่นของ ช้างป่าตัวที่พบ ถ้าเป็นช้างครอบครัวให้จดลักษณะเด่นของช้างในกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น จำนวนช้างงา บางตัวที่มีลักษณะเด่น เช่น หู แหว่ง หูมีรู เป็นต้น



เงื่อนไขและระเบียบการสมัคร

1. ผู้สมัครต้องมีอายุบรรลุนิติภาวะ 20 ปีขึ้นไป หากอายุน้อยกว่า 20 ปี ต้องมีใบรับยินยอมเข้าร่วมกิจกรรมจากผู้ปกครอง

2. ผู้สมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงเพียงพอต่อการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากลักษณะในการทำงานอยู่ในพื้นที่ในป่าจึงไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ ต้องการดูแลเป็นพิเศษ

3. ผู้สมัครต้องเข้าใจสภาพการทำงานในพื้นที่ในป่า และยอมรับภาวะอันตราย ภัยตามธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่กล่าวโทษและถือเป็นความผิดของคณะทำงานกิจกรรมฯ

4. ผู้สมัครต้องปฎิบัติตามแนะนำ ทำตามขั้นตอน และคำสั่งของเจ้าหน้าที่และคณะทำงานกิจกรรมฯ อย่างเคร่งครัด

5. ผู้สมัครต้องงดดื่มสุรา และของมึนเมาอื่นๆ ในก่อนและขณะเข้าร่วมกิจกรรม

6. ผู้สมัครที่ผ่านการอบรม (Workshop) หรือ ผ่านการแนะนำในการสำรวจการวิจัยจากเจ้าหน้าที่คณะทำงาน เท่านั้น จึงจะผ่านการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรม

7. ผู้สมัครต้องส่งมอบการจดบันทึกข้อมูล ภาพถ่าย(ไฟล์ JPG) และ/หรือวิดีโอ ต่างๆ ในแต่ละวัน ให้แก่เจ้าหน้าที่คณะทำงาน โดยรูปดังกล่าวจะนำมาใช้เพื่อการศึกษาวิจัย และมีการอ้างอิงเจ้าของรูปถ่ายนั้นในการใช้ภาพ

8. ผู้สมัคร สามารถเลือกวันเข้าร่วมกิจกรรมช่วงหนึ่งช่วงใด หรือ ทั้งหมดของวันทำกิจกรรมได้ และต้องแจ้งไว้ในใบสมัคร

9. ผู้สมัครต้องออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางในการเข้าร่วมกิจกรรมเอง และเตรียมของใช้ในการทำงานและของใช้ส่วนตัวเอง (ชมรมฯ จะจัดเตรียมอาหาร/ที่พัก/และพาหนะในการเดินทางในพื้นที่ให้)

10. กรณีผู้สมัครผ่านการคัดแล้ว แต่ขณะการทำงานทำผิดเงื่อนไขและระเบียบ หรือ มีพฤติกรรมก่อให้เกิดอันตรายต่อการทำงาน เจ้าหน้าที่และคณะทำงาน มีสิทธิขอยุติในการเป็นอาสาสมัครของผู้นั้น และขอให้ออกจากนอกพื้นที่



กำหนดการ

1. เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 -20 พฤศิกายน 2552

2. ประกาศผลการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 22 พฤศจิกายน 2552

3. อบรมวิธีการสำรวจช้างป่า วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 (สถานที่ : ห้องอาหารวนาลี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)



วิธีการสมัคร

1. Download ใบสมัคร และเอกสารอื่นๆ จาก หน้านี้

2. ส่งใบสมัคร หรือเอกสารอื่นๆ ถ้ามีมาที่ E-Mail : administrator@wildelephantlover.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณ มัทนา 086-022-5666 , คุณ โม 081-899-0229 หรือ คุณ ขวัญ 087-496-7592

http://wildelephantlover.com

Views: 67

Reply to This

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service