รางวัล แกรมมี่ 2010 ความยักแย่ยักยันของวงการดนตรีอเมริกัน (1)

เรื่อง : พอลเฮง
หน้าแรกบันเทิง > Recommended >
โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2553



อุตสาหกรรมดนตรีโลกในยุคเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิตอล ดาวน์โหลด ยังไม่มีอะไรใหม่ในแง่ของพัฒนาการทางดนตรีและแก่นความคิดมากมายนัก ยังคงคืบเคลื่อนอย่างเอื่อยช้าในวัฒนธรรมของความบันเทิงเป็นส่วนมาก เน้นสีสันและความจัดจ้าในแรงเหวี่ยงจากมูลค่าการตลาดเป็นหลักใหญ่ใจความ และได้สะท้อนออกมาในการมอบรางวัลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี อย่าง รางวัลแกรมมี่ หรือ แกรมมี่ อวอร์ดส

สินค้าที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีมูลค่ามหาศาลและสามารถชี้นำรสนิยมคนทั่ว โลก นอกจากภาพยนตร์ของฮอลลีวูดแล้ว อัลบั้มเพลงของศิลปินอเมริกันก็เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่ส่งออกและมีอิทธิพล ต่อวงการดนตรีและเพลงทั่วโลกด้วยเช่นกัน นักร้องและวงดนตรีทั่วโลกจำนวนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้แนวทางของดนตรีอเมริกันมาสร้างสรรค์ให้เป็นเพลงในแบบของตัวเองด้วยภาษา ต่างๆ กัน ซึ่งเมืองไทยเองก็เป็นหนึ่งในนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

งานเพลงและดนตรีที่ออกมาของนักร้องและวงดนตรีในเมืองไทยในวงการเพลงร่วมสมัย ล้วนที่จะผูกติดและเดินตามแฟชั่นการฟังเพลงของคนอเมริกัน และส่วนหนึ่งจากอังกฤษและสหราชอาณาจักร

ว่าไปแล้ว ตลาดเพลงในอเมริกาเหนือเป็นตลาดเพลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกำลังซื้อที่มากมายมหาศาล และเป็นต้นแบบของความเสพความบันเทิงผ่านเสียงเพลง โดยเฉพาะในตลาดเพลงอเมริกาเอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และพยายามค้นหาซูเปอร์สตาร์และพ็อพพสตาร์รายใหม่ๆ เพื่อดึงดูดแฟนเพลงสร้างให้เป็นไอคอนหรือรูปบูชา และไอดอลหรือขวัญใจอันน่าคลั่งไคล้ของคนฟังเพลง ซึ่งแน่นอนที่สุดก็ย่อมเป็นตลาดเพลงพ็อพกระแสหลักสำหรับวัยรุ่นและคนหนุ่ม สาว

ในปี 2010 หรือปี 2553 นี้ การมอบรางวัลแกรมมี่ ที่เพิ่งจัดผ่านพ้นไป ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นปีของบรรดานักร้องหญิงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะบียอนเซ และเทย์เลอร์ สวิฟท์ ซึ่งอยู่ในจุดโฟกัสเป็นศูนย์รวมความสนใจและกวาดรางวัลไปหลายรางวัลอย่างน่า ชื่นใจ

บียอนเซ ที่มีอัลบั้ม ‘I Am... Sasha Fierce’ เข้าประกวด สามารถเข้าชิงรางวัลต่างๆ ทั้งหมด 10 รางวัล และกวาดไปถึง 6 รางวัล เรียกว่า เกินครึ่งถึง 60 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ถือว่าเป็นนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์ของรางวัลแกรมมี่ที่สามารถทำสถิติได้ ขนาดนี้ เมื่อรวมถึงรางวัลแกรมมี่ที่เธอเคยได้มาแล้วในอดีต ตอนนี้รวมทั้งหมดเธอได้ไปถึง 13 รางวัลเข้าไปแล้ว นับได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ของปีนี้

แต่ใช่ว่า เธอจะเป็นนางเอกเพียงคนเดียวของงานเสียเมื่อไหร่...






 บียองเซ


เทย์เลอร์ สวิฟท์ สาวน้อยวัย 20 ปี นำดนตรีคันทรี-พ็อพ และคอนเทมโพรารี คันทรี ของเธอให้หลุดออกจากแนชวิลล์ เมืองหลวงของดนตรีคันทรีมาสู่กระแสหลักการฟังเพลงของวัยรุ่นและผู้คนยุคนี้ ได้ เธอกลายเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์ไปในชั่วข้ามคืน ผันตัวเองจากดาวรุ่งพุ่งแรงเป็น ของแท้ขึ้นหิ้งจากการเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ถึง 8 รางวัล และกวาดมาได้ครึ่งหนึ่ง 4 รางวัล และสร้างสถิติขึ้นใหม่เป็นผู้ได้รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งปีที่มีอายุน้อย ที่ไปโดยปริยาย ผ่านอัลบั้ม’Fearless’ ของเธอ

เพราะฉะนั้น การมาถึงของ เทย์เลอร์ สวิฟท์ ก็หมายถึงการถ่วงดุลอีกครั้งของรางวัลแกรมมี ผ่านบรรดานักร้องและวงดนตรีที่เป็นคนขาวที่สร้างดนตรีคันทรีให้คงสถานะที่ มั่นคงในวงการเพลงพ็อพกระแสหลักของอเมริกาให้ได้

เพราะในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา วงการเพลงและดนตรีของอเมริกัน ถูกครอบงำจากนักร้องและวงดนตรีในสายเออร์บัน แบล็ก มิวสิค ที่ผลิตงานออกมาผ่านมันสมองของคนแอฟริกัน-อเมริกัน ผ่านวัฒนธรรมฮิพฮอพ สื่อมาทางดนตรีแร๊พ อาร์แอนด์บี โซล ซึ่งผสมผสานเป็นพันทางออกมาเสียเป็นส่วนใหญ่ จนคนฟังเพลงรุ่นหลังมองว่า ดนตรีเหล่านี้คือ ดนตรีพ็อพของอเมริกัน

ทั้งที่ในความเป็นจริงความหลากหลายและแตกต่างของวงการเพลงอเมริกันนั้นเด่น ชัดมากทีเดียว หากเจาะลึกผ่านรางวัลแกรมมี่ที่มีการมอบรางวัลกันใน 30 สาขา และซอยย่อยลงไปถึง 109 รางวัลในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นตลาดเพลงที่กว้างและลึกอยู่พอสมควร และมีทางเลือกให้กับคนฟังเพลงในทุกเพศ วัย อายุ และรสนิยม โดยแม้หลักใหญ่จะเน้นหนักไปในเพลงตามกระแสแฟชั่นของตลาดเพลงก็ตาม

แต่ก่อนอื่นมาดูกันกับบทเพลงและดนตรีที่อยู่ในกระแสหลักกันเสียก่อน ซึ่งสาขาทั่วไปถือเป็นรางวัลที่ใหญ่และถูกสนใจมากที่สุด เพราะเป็นการพิจารณารางวัลกันโดยไม่จำกัดสาขาหรือแนวดนตรี และรางวัลที่อยู่ในส่วนนี้ถือเป็นความยอดเยี่ยมและโดดเด่นที่บ่งชี้ถึง ทิศทางของดนตรีที่อยู่ในสังคมอเมริกันและสังคมคนฟังเพลงทั่วโลกได้ในโสต หนึ่งด้วย

เมื่อพลิกดูจาก 4 รางวัลหลักของสาขาทั่วไป อัลบั้มเพลงยอดเยี่ยมอย่างที่กล่าวไปแล้ว เป็นของ เทย์เลอร์ สวิฟท์ ในอัลบัม ‘Fearless’ ซึ่งถือเป็นชัยชนะของวงการเพลงคันทรีติดต่อกันอีกปีในรางวัลที่ใหญ่ที่สุด หลังจากปีที่แล้ว รางวัลนี้เป็นของอัลบั้ม ‘Raising Sand’ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของดูโอ ตำนานนักร้องฮาร์ดร็อค โรเบิร์ต แพลนท์ แห่งวงเลด เซปปลิน กับ อลิสัน เคราส์ ตัวแม่แห่งวงการเพลงคันทรี และถือเป็นราชินีรางวัลแกรมมีอีกตำแหน่งด้วย

ปีนี้ เทย์เลอร์ สวิฟท์ ได้มารับไม้ต่อ และพยายามจะฉุดให้ดนตรีคันทรีหลุดออกจากวงจรของคนฟังเพลงที่เป็นพวกผู้ใหญ่ ถึงวัยอาวุโสให้ออกมาสู่คนหนุ่มสาวและวัยรุ่นให้มากกว่าที่ผ่านมา แทนที่จะจำกัดอยู่แค่ดนตรีของคนแอฟริกัน-อเมริกัน เพียงฝ่ายเดียว

แสดงให้เห็นว่า รางวัลแกรมมีพยายามที่จะส่งชูบทเพลงและดนตรีคันทรีอย่างจงใจ เพียงเพื่อที่จะให้เกิดดุลยภาพในตลาดเพลงให้ได้...

……….

สถาบันศิลปะและวิทยาการบันทึกเสียงแห่งอเมริกา (National Academy of Recording Arts & Sciences) ผู้จัดรางวัลแกรมมี ถือเป็นเสาหลักที่ทรงอิทธิพลต่อวงการดนตรีอเมริกันและวงการดนตรีของโลกเป็น อย่างมาก

วงดนตรีหรือนักร้องที่ผ่านการการันตีจากรางวัลนี้ย่อมได้รับการยอมรับใน ระดับโลก รวมถึงความสำเร็จในเชิงพาณิชย์อย่างยิ่งยวดด้วย เพราะฉะนั้นรางวัลแกรมมี่จะว่าเป็นรางวัลทางศิลปะดนตรีทั้งหมดแบบสุดขั้วก็ ไม่ใช่ รางวัลทางดนตรียอดนิยมที่ประสบความสำเร็จจากยอดขายในท้องตลาดก็ไม่เชิง แต่เป็นการหลอมรวมอย่างสมดุลที่ยอมรับได้ทั้งสองด้าน

ในสาขาทั่วไปซึ่งมีด้วยกัน 4 รางวัลใหญ่ ซึ่งไม่มีการแยกประเภทดนตรีแต่เป็นการตัดสินและประเมินคุณค่าโดยรวมทั้งหมด บียอนเซ่ กับ เทย์เลอร์ สวิฟท์ คือนางเอกและนางรองของงานประกาศรางวัลแกรมมี่ 2010

จากอัลบั้มยอดเยี่ยม ‘Fearless’ ของเทย์เลอร์ สวิฟท์ และบทเพลงยอดเยี่ยมแห่งปี ‘Single Ladies (Put A Ring On It)’ ของบียอนเซ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามผลักดันของวงการเพลงคันทรีที่จะช่วงชิงการนำ ให้เหนือกว่าวงการเพลงของคนผิวสีในสายเออร์บัน แบล็ค มิวสิค






เทย์เลอร์ สวิฟท์


มาดูรางวัลใหญ่อีก 2 รางวัลคือ รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ซึ่งได้แก่บทเพลง 'Use Somebody' ของ คิง ออฟ ลีออง และรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ซัค บราวน์ แบนด์ ว่า วงการเพลงคันทรีได้ประกาศชัยชนะบนเวทีผ่านรางวัลใหญ่ถึง 2 รางวัล รวมถึงรางวัลบันทึกเสียงก็ยังเป็นวงอินดี้ร็อค คิง ออฟ ลีอองที่มีรากเหง้าของดนตรีร็อคแบบคนขาวผ่านอิทธิพลดนตรีเซาเธิร์นร็อค และอเมริกัน เทรดิชัน ร็อค อยู่ดี มีแค่บียอนเซ่แทรกเข้ามาได้ในรางวัลหลักที่เป็นรางวัลใหญ่ 4 รางวัล

ซึ่งทั้งหมดได้สะท้อนแสดงให้เห็นว่า แม้ดนตรีและบทเพลงในแนวเออร์บัน แบล็ค มิวสิค และวัฒนธรรมฮิปฮอปของคนแอฟริกัน-อเมริกัน จะครองตลาดเพลงกระแสหลักของอเมริกันมามากว่าทศวรรษ ประสบความในเชิงพาณิชย์ มีเพลงฮิตครองชาร์ตบิลบอร์ดอย่างเหนียวแน่นจากนักร้องและวงดนตรีมากมายก็ตาม แต่ความเหนียวแน่นทนทานและมาตรฐานทางดนตรีของบทเพลงและดนตรีจากวงการเพลงคัน ทรีก็ยังเปี่ยมคุณภาพที่โดดเด่นอยู่แถวหน้า โดยวัดจากรางวัลแกรมมี่เป็นตัวบ่งชี้

นี่คือความพยายามสร้างดุลยภาพให้เกิดขึ้นในสังคม ผ่านรสนิยมการฟังเพลงของคนที่เป็นกลุ่มใหญ่สุดสองกลุ่มในสังคมอเมริกันยุค ปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดมากมายหากวิเคราะห์เจาะลึกกันไปในหลายมิติ ทั้งวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

ตัดกลับมาที่รางวัลแกรมมี่ 2010 นอกจากรางวัลดนตรีที่ใหญ่สุดแล้ว เมื่อดูบรรดาศิลปินที่ได้รับรางวัลในปีนี้ที่โดดเด่นเด้งดึ๋งออกมาเข้าตาใน แง่มุมของแฟชั่นการฟังเพลง หรือเทรนด์ดนตรีที่จะมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 2 ศตวรรษที่ 21 ชื่อของ วงแบล็ก อาย พีส์ กับนักร้องสาวสุดซ่าอย่าง เลดี้กาก้า ที่กวาดรางวัลในประเภทดนตรีแบบถนัดของตัวเอง

เปิดกระจกให้เห็นว่า วงการดนตรีโลกกำลังขยับเข้าสู่ดนตรีในแนวอิเล็กทรอนิกส์แด๊นซ์ แฟชั่นปาร์ตี้กันอีกรอบหนึ่งแล้ว

ซึ่งหมายถึงวงวัฏของการฟังเพลงเพื่อการเต้นรำและบันเทิงแบบสุดๆ ของดนตรีดิสโก และนิวเวฟ ของยุคทศวรรษที่ 80 น่าจะกลับมาฟื้นชีพใหม่ แต่จะไม่ใช่แบบเดิมหรือเป็นแบบเสียงสังเคราะห์จ๋าของยุคอิเล็กทรอนิก้าของ กลางยุคทศวรรษที่ 90 แต่น่าจะเป็นการหลอมรวมดนตรีแบบพันทางของทั้งหมดคือ อิทธิพลดนตรียุค ’80 วัฒนธรรมฮิพฮอพ และอิเล็กทรอนิกาเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสัมผัสพิเศษทางการนำเสนอสารแบบเพลงพ็อพเข้าเป็นตัวกลางให้ทุกอย่างเข้า สู่รสนิยมของคนหมู่มาก

สำหรับรางวัลแกรมมี่เองนั้น จากการดูประเภทของสาขาดนตรีทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า คนอเมริกันนั้นมีรสนิยมการฟังเพลงที่หลากหลาย และมีทางเลือกมากมายในการเสพฟังดนตรีที่ตัวเองชอบอย่างมีคุณภาพและถูกใจตลาด

เมื่อย้อนกลับมาดูตลาดเพลงไทยของคนรุ่นใหม่ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทรนด์ใหม่สุดนั้น ก็คือดนตรีสกา-เร็กเก้ เป็นที่ถูกใจของคนฟังเพลงหัวก้าวหน้า แต่เมื่อดูผ่านรางวัลแกรมมี่ก็มีการมอบรางวัลในดนตรีประเภทนี้กันแค่รางวัล เดียวคือ รางวัลอัลบั้มเร็กเก้ยอดเยี่ยม ได้แก่อัลบั้ม ‘Mind Control – Acoustic’ ของ สตีเฟน มาร์ลีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกชายของราชันย์เร็กเก้ คือ บ็อบ มาลีย์ แฟนเพลงเร็กเก้เมืองไทยน่าจะหามาลองฟังกัน

ส่วนลูกชายของบ็อบ มาร์ลีย์ อีกคน ซิกกี มาร์ลีย์ ซึ่งเป็นพี่ชายของสตีเฟน และทำอัลบั้มเพลงเร็กเก้มายาวนาน คราวนี้ก็กลับได้รางวัลแกรมมี่ ในสาขาอัลบั้มดนตรีสำหรับเด็กยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม ‘Family Time’

หากจะลงลึกไปสู่รางวัลในดนตรีแต่ละประเภทที่มีครบเครื่องครบถ้วน จะมีเรื่องพูดถึงกันอีกยาวเหยียด รางวัลแกรมมี่มองเพียงผิวเผินก็คือรางวัลหนึ่งในวัฒนธรรมดนตรีเพื่อความ บันเทิงของโลก แต่หากมองให้ลึกซึ้งนี่คือ รางวัลดนตรีของมวลมนุษยชาติ โดยผ่านมมุมมองและรสนิยมแบบอเมริกันจ้า และเปิดกว้างทางหัวใจและศิลปะดนตรี (อ่านต่อเรื่อง รางวัลแกรมมี่ 2010 กับศิลปินเอเชีย)

Views: 63

Reply to This

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service